ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    RSS

    Blog posts of '2018' 'ธันวาคม'

    6 หลักการพื้นฐานออกแบบระบบเครือข่าย LAN สมัยใหม่ ที่ Network Engineer ไม่ควรมองข้าม
    ความคิดเห็น (0) 6 หลักการพื้นฐานออกแบบระบบเครือข่าย LAN สมัยใหม่ ที่ Network Engineer ไม่ควรมองข้าม

    เว็บไซต์ NoJitter ได้ออกมาสรุปถึง 6 หลักการในการออกแบบระบบ Network สำหรับ LAN ในปัจจุบันจาก Frost & Sullivan ซึ่งก็ถือเป็นหลักการและมุมมองพื้นฐานที่นำไปปรับใช้กันได้อยู่บ้าง 

     

    1. ออกแบบจากการใช้งาน ไม่ใช่ฟีเจอร์ของระบบเครือข่าย

    ในสมัยก่อนนั้นเราอาจทำการศึกษาผลิตภัณฑ์แต่ละค่ายและนำฟีเจอร์นั้นๆ มาใช้ออกแบบระบบเครือข่าย แต่ปัจจุบันนี้การมองไปที่อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานเชื่อมต่อเครือข่ายจริงๆ ว่าจะต้องใช้อะไรบ้างแล้วจึงค่อยออกแบบระบบเครือข่ายนั้นก็ถือเป็นแนวทางที่สมเหตุสมผลกว่า ด้วยการที่ระบบเครือข่ายในปัจจุบันนั้นมีทั้งอุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ PC เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากนั่นเอง

    แนวทางเบื้องต้นคือควรจะต้องทำการจำแนกพฤติกรรมและความต้องการของแต่ละอุปกรณ์ออกจากกันให้ชัดเจน แล้วจึงค่อยออกแบบ Topology และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งในแง่ของ Bandwidth, Application ไปจนถึงการใช้พลังงานที่อาจต้องจ่ายผ่าน PoE ด้วย

     

    2. ออกแบบให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย

    การออกแบบระบบเครือข่ายให้เข้าใจง่ายและบริหารจัดการง่ายนั้น นอกจากจะทำให้ทำงานได้สะดวกแล้ว ก็ยังจะช่วยลดความเสี่ยงทางด้านความมั่นคงปลอดภัยให้น้อยลงไปด้วย ดังนั้นจึงควรจะออกแบบระบบเครือข่ายให้ง่ายนต่อการตั้งค่า, การติดตั้งใช้งาน, การบริหารจัดการ และการแก้ไขปัญหาเผื่อเอาไว้ตั้งแต่แรก รวมถึงสามารถตรวจสอบและจัดการการเชื่อมต่อไปยังระบบแบบ On-Premises ภายใน Data Center และ Cloud ได้อย่างยืดหยุ่นด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาวนั่นเอง

     

    3. ใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่าสูงสุด และลดความซับซ้อนของระบบลง

    นำเทคโนโลยีใหม่ๆ และนวัตกรรมต่างๆ มาใช้งานเพื่อให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นๆ อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง, การลดความซับซ้อนของระบบเครือข่าย, การเพิ่มความยืดหยุ่นให้สามารถติดตั้งใช้งานอุปกรณ์ใหม่ๆ เพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย และทำให้ผู้ใช้งานยังคงเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดายไม่ติดขัด

     

    4. เลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเองก็ถือว่าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานทางด้านพลังงานและการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการออกแบบระบบเครือข่ายให้ยังคงใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่แต่ก่อนได้โดยไม่ต้องรื้อทำใหม่ทั้งหมด รวมถึงการนำ Switch PoE คุณภาพสูงที่ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่ามาใช้ ลดปริมาณพลังงาน, สามารถควบคุมการเปิดปิดอุปกรณ์ได้ และยังลดการเดินสายลงอีกด้วย

     

    5. แบ่ง LAN ออกเป็นสัดส่วนอย่างเหมาะสม

    แบ่งสัดส่วนของระบบเครือข่ายในระดับ Logical เพื่อให้สามารถรองรับ Application และการใช้งานได้อย่างหลากหลายโดยเดินสาย LAN ให้น้อยลง ซึ่งแนวทางนี้ก็ยังส่งผลดีต่อการแบ่งสัดส่วนของอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ออกจากกัน และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระบบเครือข่ายในแง่ของความมั่นคงปลอดภัยได้ด้วย

     

    6. จัดสรรการใช้ทรัพยากรใหม่ให้ตอบโจทย์ ROI อย่างคุ้มค่าสูงสุด

    เมื่อระบบเครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างคุ้มค่าแล้ว ในงบประมาณรอบถัดไปก็อาจหันมาเสริมขีดความสามารถในการสื่อสารทางธุรกิจให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและการลงทุนโดยรวมลง และทำให้มีงบประมาณสำหรับลงทุนในระบบ Endpoint หรือ Application ใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น และคุ้มค่ายิ่งขึ้นต่อไปได้อีกทางหนึ่งด้วย

     

    ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ www.techtalkthai.com

    20 Username และ Password อันตรายที่ไม่ควรใช้เป็นรหัสผ่าน
    ความคิดเห็น (0) 20 Username และ Password อันตรายที่ไม่ควรใช้เป็นรหัสผ่าน

    20 อันดับ username และ password ที่ไม่ควรตั้งเป็นรหัสผ่านนี้ มาจาก การใช้ Honeypot  คือกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่ถูกติดตั้ง สำหรับลวงให้แฮกเกอร์รุกกทำการโจมตี เพื่อเรียนรู้เทคนิคของแฮกเกอร์ มาป้องกันและลดความเสี่ยงของ Server ซึ่งก็ได้รหัสอันตราย 20 USERNAME และ 20 Password ดังกล่าวที่ Honeypot จับได้

    20 username และ password อันตรายที่ไม่ควรใช้เป็นรหัสผ่าน

    ขอบคุณข่าวสารดีๆจากเว็บไซต์ www.befirstnetwork.com