ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    RSS

    Blog posts of '2019' 'ธันวาคม'

    ค่า VA และ watts ใน UPS แตกต่างกันอย่างไร?
    ความคิดเห็น (2) ค่า VA และ watts ใน UPS แตกต่างกันอย่างไร?
    การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง watts กับ VA นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อย่างไรก็ตามเราต้องพิจารณาก่อนในเบื้องต้นเกี่ยวกับศัพท์ในด้านพลังงานไฟฟ้า
    สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นในการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์
    ความคิดเห็น (0) สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นในการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์
    นอกจากจะเลือกโปรเจคเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานหลักๆแล้ว คุณภาพของเครื่อง สี และวัสดุ ก็มีผลแต่นั้นเราสามารถเช็คได้จากภายนอกจากความชอบในตัวเครื่องนั้นๆ  มีทริคควรทราบเล็กๆน้อยๆในการเช็คสเปคเครื่องโปรเจคเตอร์ที่เราต้องการทราบความหมายง่ายๆไม่กี่ข้อ ก็ทำให้คุณเลือกโปรเจคเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานโดยไม่ทำให้เสียเวลาอีกด้วย  เพราะเราจะมีสเปคในใจ ราคา และตัดตัวเลือกอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในใจออกไปได้ เพียงเท่านี้ คุณก็ได้โปรเจคเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานและเหมาะกับคุณได้อย่างลงตัว 
    ความละเอียด Resolution และ อัตราสัดส่วนภาพคืออะไร?
    ความคิดเห็น (14467) ความละเอียด Resolution และ อัตราสัดส่วนภาพคืออะไร?

    Resolution คือ ความละเอียดของภาพ โดยจะเป็นตัวเลขสองจำนวนคูณกัน โดยเป็นจำนวน Pixel ต่อขนาดของจอ โดยจำนวนแรกจะเป็น ขนาดของ แนวกว้างของภาพที่ฉายและ เลขจำนวนหลังเป็น ขนาดแนวสูงของภาพที่ฉาย


    อัตราส่วนของภาพ (Aspect Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างแนวกว้างของภาพต่อแนวสูงของภาพ

     

    เรามักจะพบความละเอียดของโปรเจคเตอร์อธิบายกับทั้งตัวเลขและตัวย่อความละเอียดที่สูงขึ้นหมายถึงภาพละเอียดมากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นขนาดของภาพฉายที่ได้ แบ่งเป็นระดับดังนี้

     

    • SVGA (800 x 600) : ความละเอียดดีปานกลางราคาไม่แพงและคุณภาพสมราคา เหมาะกับการนำเสนอ Presentation รูปภาพ วิดีโอ
    • XGA (1024 x 768) : นี่คือความละเอียดที่เหมาะสำหรับการนำเสนอ Presentation รูปภาพ
    • WXGA (1280 x 800) : ความละเอียด XGA ในรูปแบบ Widescreen เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพ ตัวเลข ตัวอักษร
    • Full HD (1920 x 1080) : ความละเอียดนี้สำหรับคอหนังที่ต้องการภาพคมชัดดูหนังได้อย่างสะใจ เป็นความละเอียดในด้านการฉายภาพยนต์ จะเป็น Resolution ที่มีเฉพาะใน Series Home Theater
    • WUXGA (1920 x 1200) : ความละเอียดนี้สำหรับคอหนังเช่นเดียวกันกับ Full HD แต่เป็นอัตราส่วน Scale (16:10) เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพที่มีรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ เยอะ อย่างเช่น ความคมชัดของตัวอักษร, ตัวเลข, กราฟ, งานเส้น, แบบแปลน
    • UHD (4K) (3840 x 2160) : ความละเอียดนี้คมชัดพิเศษสุดๆ ที่หลายๆคนเรียกกันว่าคมชัดระดับ 4K เหมาะสำหรับการรับชมภาพยนต์ ภายในบ้าน ภาพนั้นมีความคมชัดละเอียด ดูสมจริง *อย่างไรก็ตาม ในทางเทคนิคแล้ว คำว่า 4K จริง ๆ แล้วหมายถึงมาตรฐานการถ่ายทำภาพยนตร์ที่มีความละเอียด 4,096 x 2,160 พิกเซล (ซึ่งมากกว่า UHD ที่กล่าวไปข้างต้นเล็กน้อย) แต่ในด้านการโฆษณา แบรนด์ต่าง ๆ ก็มักจะใช้คำว่า 4K กับ UHD แทนกัน ดังนั้นคำว่า 4K หรือ UHD (Ultra High definition) ก็มีความหมายไม่แตกต่างกันแต่อย่างใดค่ะ

     

    นอกจากนี้แล้ว โปรเจคเตอร์ 4K บางรุ่น ก็จะมีระบบ Upscale ที่ช่วยยกระดับความคมชัดและรายละเอียดของภาพในระดับ Full HD ปกติ ให้ขึ้นมาอยู่ในระดับระดับที่ใกล้เคียงกับ 4K ได้ โดยการปรับรายละเอียดและความคมชัด รวมถึงทำการลบ Noise ในภาพให้อัตโนมัติ ภาพที่ได้จึงออกมาใกล้เคียงกับความละเอียดแบบ 4K แม้ว่าต้นฉบับจะเป็นความละเอียดระดับ Full HD ก็ตาม

     

    จากการเปรียบเทียบอัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการแสดงผลแบบ HDTV ( High Definition Television ) ซึ่งการแสดงผลของภาพในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่การแสดงผลของภาพที่ให้ความคมชัดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้การแสดงผลของจอภาพรองรับมาตรฐานแบบ Full HD
     
    จากรูป..เป็นการเปรียบเทียบการแสดงผล สำหรับจอภาพ ตามมาตรฐานต่างๆ ที่เรารู้จัก...
           - Full HD (High Definition) 1920 x 1080
           - HD (High Definition) 1280x720
           - PC XGA (Extended Graphics Array) 1024x768
           - SD (Standard Definition) PAL TV 768x576
           - SD (Standard Definition) NTSC TV 720x480
           - CIF (Common Intermediate Format) 352x288
           - QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 176x144
     
          ซึ่งแต่ละระบบ มีความแตกต่างกันของขนาดภาพ มันเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพวิดีโอ หรือการนำไปตัดต่อภาพวิดีโอด้วย เช่น การส่งภาพข่าวของผู้สื่อข่าว บมจ.อสมท ในขณะนี้ใช้ขนาด 720x576 และกล้องวิดีโอที่ส่งมาให้ใช้งานตามภูมิภาค ปรับมาตรฐานของภาพที่บันทึกเป็น 720x576 นั่นเอง ซึ่งอยู่ในระบบ SD ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป
         
     
     
     
    HDTV ( High Definition Television ) 
          มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โทรทัศน์ความคมชัดสูง" หรือ "โทรทัศน์รายละเอียดสูง"  หรือเรียกสั้นๆ ว่า HDTV เป็นคำสั้นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงภาพวิดีโอ โดยเลข 1080 หมายถึง จำนวนความละเอียดของเส้นในแนวนอน 1,080 เส้น และตัวอักษร p ย่อมาจาก Progressive Scan หรือ non-interlaced ในขณะที่ i ย่อมาจาก interlaced ปัจจุบันทั้ง 1080i และ 1080p เป็นฟอร์แมตความละเอียดสูงสุด ที่ใช้กันทั่วไปในการแพร่ภาพโทรทัศน์และการเก็บภาพวิดีโอ
     
          ดังนั้น 1080p จึงเป็นสัญญาณภาพแบบ HDTV โดยมีการรับส่งสัญญาณภาพในแบบจอกว้างหรือไวด์สกรีน ( Widescreen ) อัตราส่วน 16:9 นั่นหมายความว่า ความละเอียดของการแสดงจะผลอยู่ที่ 1920 จุดในแนวนอน และมีความละเอียด 1080 จุดในแนวตั้ง รวมเท่ากับ 1920 x 1080 หรือเท่ากับ 2,073,600 พิกเซล ( 2Mpixel หรือ 2 ล้านพิกเซล )
     
    คำว่า Full HD และ HD-Ready มีความหมายอย่างไร
          Full HD หมายถึงการแสดงผลของจอภาพโทรทัศน์ที่ให้รายละเอียดจำนวนของเส้นในแนวนอนเท่ากับ 1,080 เส้น ทั้งแบบ 1080i และ 1080p ถือว่าเป็นแบบ Full HD สำหรับจอแสดงภาพในแนวนอนเท่ากับ 1,080 เส้น นั่นคือเป็นคำจำกัดความของจอภาพแบบ  Full HD จะแสดงผลทางแนวตั้งและแนวนอน เท่ากับ 1920x1080 จุด ซึ่งเท่ากับ 2,073,600 พิกเซล ( 2Mpixel หรือ 2 ล้านพิกเซล ) นั่นเอง
          
          HD Ready คำนี้จะใช้สำหรับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำกว่า Full HD ไม่ว่าจะเป็นขนาดภาพ 1366x768 หรือ 1024x768 หรือ 1280x720 สำหรับจอภาพโทรทัศน์ที่โฆษณาว่าเป็น HD Ready นั้นจะรองรับการนำเข้า input HDMI รับสัญญาณภาพจากเครื่องเล่นที่เป็น Full HD ( 1080i หรือ 1080p ) เช่น..เครื่องเล่น Blu-ray มีขนาดภาพ Full HD 1920x1080 (pixels) ส่งต่อสัญญาณภาพให้โทรทัศน์ที่มีขนาดจอภาพเป็น HD เพียง 1280x720 (pixels) เครื่องรับโทรทัศน์จะทำการ Down Scale ให้เหลือแค่ Native Resolution ให้แสดงผลเท่าที่จอภาพของมันจะทำได้เท่านั้น คือจากขนาดภาพ 1920x1080 pixels (1,080 เส้น) เหลือเพียงขนาดภาพ 1280x720 (720 เส้น) เหมือนว่ารองรับสัญญาณภาพ Full HD 1920x1080 (1,080 เส้น) แต่จริงๆแล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์เพียง 1280x720 (720 เส้น) เท่านั้น จึงเรียกว่า HD-Ready ( แปลว่า...พร้อมสำหรับ HD แต่ไม่ใช่ Full HD )
          
          ตามมาตรฐานของญี่ปุ่น ยอมรับว่าการแสดงผลแบบ 1080p ถือว่าเป็น Full HD แต่สำหรับการแสดงผลแบบ 1080i แค่ยอมรับได้ว่าเป็น HD  แต่ทางอเมริกากำหนดว่าการแสดงผลแบบ 1080i และ 1080p เป็นแบบ Full HD ส่วนการแสดงผลแบบ 720p ที่มีจำนวนเส้นในแนวนอน 720 เส้น แบบ Progressive Scan นั้นเป็นเพียง HD ธรรมดา  ( แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับว่า 720p เป็น HD เพราะประเทศญี่ปุ่นมีมาตรฐานสูงและเป็นผู้พัฒนาระบบ HD เป็นประเทศแรก เขายังกล่าวว่าสามารถผลิตภาพที่มีความคมชัดสูงมากกว่านี้ ที่เรียกว่า Super Vision Television ซึ่งผมเคยไปเห็นด้วยตามาแล้ว... )
     
         ส่วนภาพขนาด 720i ( 720 เส้น แบบ interlaced ) ไม่ถือว่าเป็น HD แต่เป็นแบบ EDTV (Extended Definition Television) ระดับภาพแบบมาตรฐานของเครื่องเล่น DVD หรือ HD-DVD
     
    สรุปตามขนาดการแสดงภาพแบบ HD ซึ่งเป็นสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้ว่า
    - ขนาดภาพแบบ Full HD เท่ากับ 1,920 x 1,080 pixels = 2,073,600 พิกเซล
    - ขนาดภาพแบบ HD เท่ากับ 1,280 x 720 pixels = 921,600 พิกเซล ( ไม่ใช่ Full HD )
     
    อัตราส่วนของจอภาพ สำหรับ HD คือ ขนาดความกว้าง x ความสูง เป็น 16 ต่อ 9 (16:9) ซึ่งเปรียบเทียบค่าได้จากการนำค่าของความกว้างกับความสูงมาหารกัน ดังนี้ 1,920/1,080 เท่ากับ 16/9 และ 1,280/720 เท่ากับ 16/9 เหมือนกันนั่นเอง
     
     
    XGA ( Extended Graphics Array )
         คือคำที่เรียกการแสดงผลของจอภาพคอมพิวเตอร์ ( Monitor Computer ) ย่อมาจาก Extended Graphics Array (แปลว่าขบวนปรับภาพแบบขยาย) เป็นชนิดจอ LCD หรือ LED มีหลายมาตรฐาน คือ
     
    • VGA ( Video Graphics Array )
    • SVGA ( SuperVideo Graphics Array )
    • SXGA ( Super Extended Graphics Array )
    • UXGA ( Ultra Extended Graphics Array )
     
    มีความละเอียดตั้งแต่
    • VGA คือ ขนาดภาพ 640x480 พิกเซล ( 4:3 )
    • SVGA คือ ขนาดภาพ 800x600 พิกเซล ( 4:3 )
    • XGA คือ ขนาดภาพ 1024x768 พิกเซล ( 4:3 )
    • SXGA คือ ขนาดภาพ 1280x1024 พิกเซล ( 4:3 )
    • SXGA+ คือ ขนาดภาพ 1400x1050 พิกเซล ( 4:3 )
    • UXGA คือ ขนาดภาพ 1600x1200 พิกเซล ( 4:3 )
     
    แล้วยังมีขนาดอัตราส่วนอื่นๆ อีก ที่ขึ้นต้นด้วย W เรียกว่า Wide Screen (จอกว้าง) คือ
    • WVGA คือ ขนาดภาพ 840x480 พิกเซล ( 16:10 )
    • WXGA คือ ขนาดภาพ 1280x800 พิกเซล ( 16:10 )
    • WXGA+ คือ ขนาดภาพ 1440x900 พิกเซล ( 16:10 )
    • WSXGA คือ ขนาดภาพ 1680x1050 พิกเซล ( 16:10 )
    • WUXGA คือ ขนาดภาพ 1920x1200 พิกเซล ( 16:10 )
    • WXGA (HD-Ready) คือ ขนาดภาพ 1366x768 พิกเซล ( 16:9 )
    • WSVGA (Full HD) คือ ขนาดภาพ 1920x1080  พิกเซล ( 16:9 )
    จัดอันดับ 10 สุดยอด Wi-Fi Router ประจำปี 2019
    ความคิดเห็น (0) จัดอันดับ 10 สุดยอด Wi-Fi Router ประจำปี 2019

    เราท์เตอร์ที่มีในตลาดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ แบบที่มีโมเดมบิวท์อินในตัว กับแบบที่ต้องใช้โมเด็มแยกต่างหาก ซึ่งในสหราชอาณาจักรนั้น คนส่วนใหญ่จะใช้แบบแรกกันเนื่องจากอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือแบบ ADSL (และ VDSL) ที่ต้องใช้โมเด็มแปลงสัญญาณ

    ขณะที่แบบที่สองมักใช้กับเน็ตแบบเคเบิล อย่างไรก็ดี ตอนนี้มีเราท์เตอร์แบบใหม่แบบที่สามแล้วที่เรียกว่า Mesh WiFi ซึ่งประกอบด้วยเราท์เตอร์ไวไฟสองตัวหรือมากกว่าทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายไวไฟที่ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานในบ้านขนาดใหญ่ได้ทั้งหลัง

    เราท์เตอร์กลุ่มล่าสุดนี้ไม่ได้แพงอย่างที่คิด ดังนั้นถ้าคุณวางแผนจะซื้อเราท์เตอร์ใหม่เพราะตัวเก่าไม่ได้มีไวไฟครอบคลุมเพียงพอ ก็อาจจะหันมาเลือกใช้ระบบ Mesh ที่จะเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์ที่ใช้งานปัจจุบันของคุณเพื่อให้ได้สัญญาณเชื่อมต่อที่ดีกว่าเดิม

    มีหลายกรณีที่เราไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติมเพื่อยกระดับการเชื่อมต่อเครือข่ายไวไฟภายในบ้าน โดยสามารถใช้เทคนิคหรือการปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อทำให้เราท์เตอร์เดิมที่ใช้งานอยู่ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เร็วและครอบคลุมมากขึ้นได้ หรือถ้าต้องการสัญญาณไวไฟที่ดีขึ้นภายในห้องใดห้องหนึ่ง ก็อาจเลือกใช้เน็ตเวิร์กอแดปเตอร์แบบพาวเวอร์ไลน์ที่มีไวไฟในตัวมาใช้ เป็นต้น

    เราท์เตอร์บางรุ่นมีฟีเจอร์ให้บริการเครือข่าย “Guest” ที่ให้แขกหรือบุคคลภายนอกเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยแยกส่วนออกจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ บนเครือข่ายภายในบ้านได้ ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ที่เปิดธุรกิจขนาดเล็กอย่างเช่นโรงแรมหรือหอพัก

    ทั้งนี้ทาง TechAdvisor.co.uk ได้รวบรวมรายชื่อเราท์เตอร์ไวไฟที่ถือว่าดีที่สุดประจำปี 2019 ไว้ดังต่อไปนี้

    1. Asus DSL-AC68U (คะแนน 4.5 ดาว) แม้จะเปิดตัวมานานแล้วหลายปี แต่เมื่อเทียบกับราคาแล้วถือว่าคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งถ้าคุณใช้กับบริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ต้องใช้โมเด็มแล้ว ก็สามารถเลือกรุ่นที่ไม่มีโมเด็มอย่าง RT-AC68U แทนรุ่น DSL ปกติได้

     

    2. TP-Link VR2600 (คะแนน 4.5 ดาว) มีประสิทธิภาพที่เยี่ยมยอดในภาพรวม ทำได้หลายอย่างภายในเครื่องเดียว เหมาะกับการนำมาใช้แทนที่ BT Home Hub เดิม ติดอยู่ที่เราท์เตอร์นี้เน้นการใช้งานผ่านช่องสัญญาณย่านความถี่5 GHz ด้วยเทคโนโลยี MU-MIMO ขณะที่ไม่ได้เน้นการใช้งานบนย่านความถี่ 2.4 GHz มากเท่าที่ควร

    3. Netgear XR500 Nighthawk Pro (คะแนน 4.5 ดาว) เป็นเราท์เตอร์ที่เน้นสำหรับเล่นเกมส์โดยเฉพาะ ที่ระบบปฏิบัติการ DumaOS ให้ความยืดหยุ่นเป็นพิเศษที่คุณคาดหวังได้จาก Synology NAS โดยให้ความสำคัญกับการจัดการเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแค่ให้บริการเครือข่าย ติดอยู่ที่ราคาที่แพงพอสมควร

     

    4. Asus DSL-AC88U (คะแนน 4.5 ดาว) ให้การเชื่อมต่อที่ยอดเยี่ยมทั้งด้าน Wi-Fi, LAN, และบรอดแบรนด์รบถ้วนในเครื่องเดียว ถือว่ามีคุณภาพดีเหนือกว่าเราท์เตอร์บรอดแบรนด์ทั่วไปที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้มาใช้เป็นอย่างมาก เหมาะอย่างยิ่งแก่ผู้ใช้ที่เน้นการใช้งานไวไฟอย่างเข้มข้น ทั้งนี้เวลาเลือกซื้อระวังสับสนกับรุ่น RT-AC88U เนื่องจากแม้รูปลักษณ์ภายนอกดูเหมือนกัน แต่เป็นเราท์เตอร์รุ่นที่ไม่มีโมเด็ม ADSL บิวท์อินอยู่ด้วย ทำให้ไม่สามารถใช้กับอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL ได้

    5. AVM FRITZ!Box 7590 (คะแนน 4 ดาว) ทำงานได้เหนือกว่าเราท์เตอร์ทั่วไป แต่มาพร้อมกับราคาที่มากพอสมควร ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้แน่ใจว่าได้ใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาจริงที่จะทำให้รู้สึกคุ้มค่ากับการลงทุน

    6. D-Link DIR-882 EXO AC26007590 (คะแนน 4 ดาว) มีจุดเด่นที่การผสานเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่แข็งแกร่งเข้ากับฟีเจอร์พิเศษที่มีประโยชน์มากอย่าง DNLA และ FTPในราคามากกว่ารุ่นAC1900 เพียงเล็กน้อย ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ใช้งาน Wi-Fi อย่างหนัก

     

    7. Asus RT-AC87U (คะแนน 4 ดาว) เป็นเคเบิลเราท์เตอร์ที่ให้ประสิทธิภาพยอดเยี่ยม โดยเฉพาะบนย่านความถี่ 5GHz รวมทั้งมีดีไซน์โฉบเฉี่ยว ฟีเจอร์มากมายให้ใช้ได้สะดวกผ่านอินเทอร์เฟซที่เรียบง่าย

    8. AVM Fritz Box 7530(คะแนน 4 ดาว) เป็นทางเลือกที่ดีถ้าต้องการอัพเกรดเราท์เตอร์เก่าด้วยตัวใหม่ที่ให้ประสิทธิภาพที่ดีในราคาที่คุ้มค่า พร้อมฟีเจอร์เพิ่มเติมอย่างเช่นการรองรับ VOIP และการสตรีมมีเดียผ่านเครือข่าย แม้จะมีปัญหาหลักด้านซอฟต์แวร์ที่ยังเสียเปรียบคู่แข่ง โดยเวอร์ชั่นสำหรับ iOS ไม่ได้ประสิทธิภาพเหมือนบนแอนดรอยด์

    9. Synology RT2600ac(คะแนน 4 ดาว) ทาง Synology ขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบที่มาควบคู่กับฟีเจอร์ด้าน NAS ที่ยอดเยี่ยม ได้ทั้งเรื่องความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

    10. Netgear Nighthawk AX4 (คะแนน 3.5ดาว)

     

    ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ www.enterpriseitpro.net