เครื่องสำรองไฟ 6K-10K Watt
เครื่องสำรองไฟ UPS (Uninterruptible Power Supply) มีทำหน้าที่คล้ายแบตเตอรี่ เป็นเครื่องสำรองไฟที่มีกระแสไฟสำรองอยู่ภายในเครื่อง ทำให้เราใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะเกิดเหตุการณ์ไฟดับ เครื่องสำรองไฟ UPS ก็จะทำหน้าที่ช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับปกติ หลังไฟดับ UPS จะช่วยให้เราใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง เพื่อให้เรามีเวลาในการจัดการกับไฟล์งาน เซฟข้อมูลต่าง ๆ หรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะได้ไม่เกิดความเสียหาย
ซึ่งคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของเครื่องสำรองไฟที่ดีนั้น จะทำงานด้วยการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ AC ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC แล้วเก็บเป็นไฟฟ้าสำรองไว้บางส่วน เมื่อเวลาที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ระบบไฟฟ้าสำรองก็จะทำงานทันที ช่วยให้มีกระแสไฟจ่ายมาให้กับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าของเรา
วิธีการเลือกเครื่องสำรองไฟ UPS
ในการเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ UPS มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเลือกซื้อให้ตรงกับความต้องการใช้งานของคุณมากที่สุด เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักวิธีการเลือกที่ถูกต้อง ซึ่ง "วัตต์ (Watt : W)" เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ UPS จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จะนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องสำรองไฟ ว่าใช้กำลังไฟฟ้าจำนวนเท่าใด เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จะใช้กำลังไฟฟ้าประมาณ 300 - 500 วัตต์ เป็นต้น
หลังจากตรวจสอบกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์แล้ว ถัดมาคือการตรวจสอบกำลังไฟฟ้าของเครื่องสำรองไฟ UPS ที่เหมาะสม ซึ่งมักปรากฏด้วยกันสองค่าคือ "กำลังไฟฟ้าปรากฏ" มีหน่วยเป็น "Volt x Ampere = VA" เช่น 1000VA โดยค่า VA ยิ่งมีมากเท่าไร ยิ่งจะทำให้ระยะเวลาในการสำรองไฟนานขึ้นเท่านั้น ส่วนค่าที่สองคือ "กำลังไฟฟ้าจริง" มีหน่วยเป็น "วัตต์ (Watt: W)" เช่น 550W ซึ่งค่านี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าสามารถรองรับกำลังไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต่อพ่วงได้สูงสุดเท่าไร
เครื่องสำรองไฟ UPS ยิ่งมีค่า VA มากเท่าไร ยิ่งสามารถสำรองไฟได้นานมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องตรวจสอบก็คือ จำนวนการใช้กำลังไฟฟ้า(W) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะนำมาใช้งานด้วย เพราะถ้ายิ่งมีการใช้งานใกล้เคียงกับกำลังไฟฟ้าจริงของเครื่องสำรองไฟมาก ก็ยิ่งทำให้เวลาในการสำรองไฟน้อยลง เช่น เครื่องสำรองไฟ UPS 1000VA/550W ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์กำลังไฟฟ้า 300W อาจจะสำรองไฟได้เต็มที่ 5 - 10 นาที แต่ถ้าหากคอมพิวเตอร์ใช้กำลังไฟฟ้า 450W ก็อาจจะลดลงเหลือ 3 - 5 นาที
หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อยูพีเอส
ขนาดกำลังไฟฟ้า (VA) ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เป็นเท่าไร?
ขนาดกำลังไฟฟ้าของโหลดที่ต่อพ่วง ไม่ควรสูงเกินกว่า 80% ของกำลังไฟฟ้าของ UPS หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ UPS ควรใหญ่กว่ากำลังไฟรวมของโหลด เพื่อสำรองไว้ในกรณี Overload
การคำนวณขนาดของ UPS ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้ปฏิบัติดังนี้
- รวบรวมรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS ทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์, จอ, โมเด็ม, สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ
- ดูว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ากินไฟกี่วัตต์ หรือ กี่ VA โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีป้ายแสดงค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) ท้ายเครื่อง (ป้ายนี้จะแสดงข้อมูลแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า)
- ให้คำนวณค่า VA โดยคูณค่า Volt และ Amps เข้าด้วยกัน
- หากป้ายแสดงข้อมูลอุปกรณ์ไฟฟ้าในรูปของพลังงานไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ (Watt-W) ให้แปลงกลับเป็นค่า VA โดยการคูณค่าวัตต์ด้วย 1.4
- รวมค่า VA หรือ Watt ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในรายการที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS
- เลือก UPS ที่เหมาะสม โดยนำค่า 0.8 มาหาร
เช่น คำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อพ่วง ได้ 240Watt ให้คำนวน 240/0.8 = 300 ดังนั้น ควรเลือกใช้ UPS ที่มีกำลังไฟมากกว่า 300Watt ขึ้นไป
ต้องการให้ UPS จ่ายพลังงานสำรองได้นานเท่าไร? (Backup Time)
หากต้องการให้มีระยะเวลาสำรองไฟมากกว่าปกติ ให้เลือกใช้ UPS รุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ชนิด High-Rate จะสามารถสำรองไฟฟ้าได้นานกว่าปกติ ประมาณ 20% (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อใช้งาน)